วันพุธที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2553

อุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฎ(น้ำตกกระทิง)


ลักษณะภูมิประเทศ

ลักษณะภูมิอากาศ

พันธุ์ไม้และสัตว์ป่า
 

 
อุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏ อยู่ในบริเวณพื้นที่ป่าเขาคิชฌกูฏ หรือเขาพระบาท ท้องที่ อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี ประกอบด้วยภูเขา ทิวทัศน์ที่งดงาม มียอดเขาสูงสุดอยู่ในระดับความสูง 700 เมตร สามลูกเรียงชิด มีสภาพธรรมชาติที่สวยงาม เช่น น้ำตกกระทิง และปรากฏการณ์ทางธรณีวิทยาที่เกี่ยวเนื่องกับตำนานทางพุทธศาสนา โดยเฉพาะในด้านความเชื่อถือทางศาสนาเกี่ยวกับรอยพระพุทธบาทบนยอดเขาคิชฌกูฏ อุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฎมีเนื้อที่ประมาณ 58 ตารางกิโลเมตร หรือ 36,687 ไร่ ได้ประกาศจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2520
ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นภูเขาสูงชัน เนื่องจากการดันตัวของเปลือกโลก หินฐานเป็นหินอัคนีพวกหินแกรนิต ยุคจูแรสสิค มีอายุประมาณ 135-180 ล้านปี ทางด้านทิศตะวันออกจะมีความลาดชันมาก แนวสันเขาวางตัวไปในแนวตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ เชิงเขาด้านตะวันออกเฉียงใต้มีความลาดชันน้อย มียอดเขาพระบาทเป็นภูเขาสูงสุด สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,085 เมตร มีที่ราบอยู่ทางทิศตะวันตกเพียงเล็กน้อย บนเขาพระบาทมีหินก้อนใหญ่ลักษณะกลมเกลี้ยงกระจายอยู่ทั่วไป โดยเฉพาะบริเวณรอยพระพุทธบาทมีหินก้อนใหญ่มาก สามารถมองเห็นได้จากพื้นราบนอกเขตอุทยานแห่งชาติ เทือกเขาสูงในอุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารของลำห้วยที่สำคัญ เช่น คลองกระทิง คลองตะเคียน คลองทุ่งเพล คลองพลวง เป็นต้น ลำน้ำเหล่านี้เป็นแหล่งต้นน้ำที่สำคัญของแม่น้ำจันทบุรี
ลักษณะภูมิอากาศบริเวณอุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฎอยู่ภายใต้อิทธิพลของลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ และลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ โดยช่วงตั้งแต่กลางเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์อากาศหนาวเย็น ท้องฟ้าโปร่ง ในช่วงกลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคมจะมีความชื้นในอากาศสูง เกิดเมฆและฝนตกหนัก ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยปีละ 2,900 มิลลิเมตร ช่วงฤดูร้อนระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-เดือนเมษายน เป็นช่วงเวลาที่เปลี่ยนอิทธิพลจากลมตะวันออกเฉียงเหนือเป็นลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ อุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปี 27 องศาเซลเซียส
ระบบนิเวศในพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฎสามารถแบ่งออกได้หลักๆ 2 ประเภท คือ ป่าดิบชื้น ครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของอุทยานแห่งชาติ พันธุ์ไม้ที่ขึ้นอยู่ได้แก่ ยางแดง กระบาก หย่อง มะก่อ บุนนาค ลูกดิ่ง สารภี เนียนดำ มะไฟ จิกดง มะซาง ดีหมี เลือดควาย สำรอง กระบกกรัง ฯลฯ และป่าดิบเขา จะอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลมากกว่า 800 เมตรขึ้นไป หรือจะพบเฉพาะบริเวณยอดเขา เช่น เขาพระบาทพลวง พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ มะก่อ กระบกกรัง สารภี บุนนาค ทำมัง พิมเสนป่า พลอง คอเหี้ย ชันใบใหญ่ รง พลับ อบเชย และดีหมี เป็นต้น
ในส่วนของสัตว์ป่า เนื่องจากสภาพป่าอยู่ในเขตเทือกเขาสูงชัน และประกอบกับราษฎรที่อาศัยอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกับอุทยานแห่งชาติไม่ลักลอบล่าสัตว์ เพราะมีอาชีพที่เป็นหลักแหล่งและทำรายได้ดีอยู่แล้ว คือ การทำสวนผลไม้ สัตว์ป่าจึงยังมีชุกชุม ได้แก่ ช้าง กระทิง เสือปลา หมีควาย กวางป่า เก้ง เลียงผา หมูป่า ชะนีมงกุฎ เม่นใหญ่ อีเห็นข้างลาย พังพอนเล็ก กระต่ายป่า กระแต กระรอกหลากสี ค้างคาวแม่ไก่ภาคกลาง นกกระทาทุ่ง ไก่ฟ้าหลังขาวจันทบูรณ์ ไก่ป่า นกกวัก นกเขาเปล้า นกกระปูดใหญ่ นกตะขาบทุ่ง นกกก นกปรอดเหลืองหัวจุก นกแซงแซวหางปลา นกกางเขนดง นกกินปลีอกเหลือง เต่าเหลือง จิ้งจกหางหนาม ตุ๊แกบ้าน กิ้งก่าหัวแดง แย้ ตะกวด จิ้งเหลนบ้าน งูหลาม งูเขียวหางไหมท้องเหลือง คางคกบ้าน กบบัว ปาดบ้าน อึ่งอ่าง ฯลฯ ตามลำห้วยลำธารต่างจะพบปลาตะเพียนทราย ปลาซิวหางแดง ปลาสร้อยนกเขา ปลาชอนทราย ปลาติดหิน ปลากดเหลือง ปลาแป้น ปลาหมอไทย ปลาบู่ ปลากระทิง และปลากระทุงเหว เป็นต้น

อุทยานแห่งชาติน้ำตกคลองแก้ว




ข้อมูลทั่วไป
กรมป่าไม้ ได้รับหนังสือจากสำนักงานป่าไม้จังหวัดตราด แจ้งว่า ในที่ประชุมคณะอนุกรรมการป้องกันและปราบปรามการลักลอบทำลายทรัพยากรป่าไม้ ประจำอำเภอเขาสมิง ครั้งที่ 1/2538 เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2538 มีมติเห็นสมควรกำหนดพื้นที่ป่าบริเวณป่าเขาชะอม เขาคลองปุก และเขามะปริง ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าเขาสมิง (ป่าคลองใหญ่-เขาไฟไหม้) อันเป็นพื้นที่ป่าอนุรักษ์ อยู่ในท้องที่อำเภอเขาสมิงและอำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด เป็นวนอุทยานหรืออุทยานแห่งชาติ เนื่องจากสภาพป่ายังคงความอุดมสมบูรณ์และมีสัตว์ป่าอยู่ชุกชุม กรมป่าไม้จึงมีคำสั่งที่ 55/2540 ลงวันที่ 10 มกราคม 2540 ให้นายประยูร พงศ์พันธ์ เจ้าพนักงานป่าไม้ 5 ส่วนอุทยานแห่งชาติ ไปดำเนินการสำรวจพื้นที่ดังกล่าวและพื้นที่ใกล้เคียง จากการสำรวจข้อมูลเบื้องต้นมีความเห็นว่า พื้นที่บริเวณป่าเขาชะอม เขาคลองปุก เขามะปริง เขาแก้ว เขาตาบาด เขาตาโชติ และเขากำแพง สมควรจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ โดยใช้ชื่อว่า อุทยานแห่งชาติน้ำตกคลองแก้ว

กรมป่าไม้จึงได้มีคำสั่งที่ 1746/2540 ลงวันที่ 21 ตุลาคม 2540 ให้นายประยูร พงศ์พันธ์ เจ้าพนักงานป่าไม้ 5 ไปทำหน้าที่หัวหน้าควบคุมพื้นที่ที่จะประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติน้ำตกคลองแก้ว จังหวัดตราด และต่อมาคณะทำงานเพื่อพิจารณาก่อนนำเรื่องเสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ มีความเห็นให้สำรวจพื้นที่บริเวณป่าบริเวณเขาปอใหม่ เขาบึงพะวาดำ เขาเอ็ด เขาคลองวังโพธิ์ เขาคลองปูน เพิ่มเติม และต่อมานายประยูร พงศ์พันธ์ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติน้ำตกคลองแก้ว ได้นำเสนอรายละเอียดการสำรวจข้อมูลเบื้องต้นพื้นที่ที่จะจัดตั้งอุทยานแห่งชาติน้ำตกคลองแก้ว ซึ่งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าเขาสมิง (ป่าคลองใหญ่-เขาไฟไหม้) เนื้อที่ประมาณ 123,700 ไร่ หรือ 197.92 ตารางกิโลเมตร ในท้องที่ตำบลหนองบอน ตำบลช้างทูน ตำบลบ่อพลอย ตำบลนนทรีย์ และตำบลด่านชุมพล อำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด เสนอที่ประชุมคณะอนุกรรมการป้องกันและปราบปรามการลักลอบทำลายทรัพยากรป่าไม้ประจำจังหวัดตราด ครั้งที่ 4/2543 เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2543 ซึ่งที่ประชุมพิจารณาให้ความเห็นชอบในการจัดตั้งอุทยานแห่งชาติน้ำตกคลองแก้ว และได้นำเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ครั้งที่ 2/2543 เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2543 ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้ดำเนินการจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติได้
ต่อมาเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2552 อุทยานแห่งชาติน้ำตกคลองแก้วได้รับการประกาศจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ ลำดับที่ 121 ของประเทศไทย โดยประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 126 ตอนที่ 97 ก ลงวันที่ 25 ธันวาคม 2552 มีเนื้อที่ประมาณ 123,700 ไร่ หรือ 197.92 ตารางกิโลเมตร
ลักษณะ
พื้นที่อุทยานแห่งชาติน้ำตกคลองแก้วส่วนใหญ่เป็นเทือกเขาสลับซับซ้อนไม่มากนักของเทือกเขาบรรทัด ประกอบด้วย เขาแก้ว เขาตาบาด เขาตาโชติ และเขากำแพง ส่วนยอดเขาเป็นแนวแบ่งเขตประเทศไทยกับประเทศกัมพูชา มีความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 100-836 เมตร ยอดเขาที่สูงที่สุด คือ ยอดเขาบาด ซึ่งมีความสูงถึง 836 เมตรจากระดับน้ำทะเล สภาพภูมิประเทศเช่นนี้ก่อให้เกิดสายน้ำหลายสาย เช่น คลองลึก คลองแอ่งปุก คลองแก้ว คลองตาบาด คลองหินเพลิง คลองลือ คลองกะใจ คลองมะละกอ ฯลฯ สายน้ำแต่ละสายจะไหลลงสู่คลองสะตอแล้วออกสู่ทะเล

ลักษณะภูมิ
พื้นที่บริเวณแถบนี้ได้รับอิทธิพลมาจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นแบบมรสุมเขตร้อน ประกอบกับพื้นที่มีสภาพป่าที่อุดมสมบูรณ์ จึงทำให้ฝนตกชุกตลอดทั้งปี โดยแบ่งเป็นฤดูกาลได้ดังนี้ ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ – เมษายน ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม–ตุลาคม ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน – มกราคม

พืชพรรณและสัตว์
สภาพสังคมพืชโดยทั่วไปของพื้นที่ เป็นสังคมพืชประเภทป่าดงดิบชื้นที่มีความชุ่มชื้นสูง ซึ่งเป็นป่าต้นน้ำลำธาร สภาพป่าจึงมีลักษณะเป็นป่าที่รกทึบ ประกอบไปด้วยพันธุ์ไม้นานาชนิด ตั้งแต่ไม้พื้นล่างที่มีขนาดเล็กจนถึงไม้ที่มีขนาดใหญ่ ที่มีความสูงตั้งแต่ 25-60 เมตร พันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ ยาง พนอง กระบาก ตะเคียน สำรอง ชุมแพรก ตาเสือ ตะแบก ฯลฯ ส่วนไม้พุ่มและพืชพื้นล่างที่พบเห็นมาก เช่น พืชตระกูลขิงข่า หวาย ระกำ หมากชนิดต่างๆ ไผ่ เต่าร้าง ชก ฯลฯ นอกจากนี้ยังพบ “เหลืองจันท์ ซึ่งเป็นกล้วยไม้ที่มีสวยงาม ค่อนข้างหายาก สามารถพบเห็นได้ทั่วไปบริเวณอุทยานแห่งชาติ

เนื่องจากพื้นที่เป็นป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์มากตามธรรมชาติ จึงทำให้มีสัตว์ป่าอาศัยอยู่อย่างชุกชุม ซึ่งจะพบเห็นได้ตามแหล่งน้ำต่างๆ และในพื้นที่แห่งนี้จะพบทากอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งแสดงให้รู้ว่ามีสัตว์ป่าเป็นจำนวนมาก จากการสำรวจเท่าที่พบและได้สอบถามจากราษฎร ในพื้นที่ที่สำคัญ ได้แก่ กวาง เสือ เก้ง หมูป่า หมี กระจง ชะนี ลิง ค่าง กระรอก ชะมด อีเห็น ไก่ฟ้าชนิดต่างๆ ไก่ป่า กางเขนดง นกขุนทอง เหยี่ยว ปรอด กระราง นกเงือก นกโพระดก งูชนิดต่างๆ กิ้งก่ายักษ์หรือลั้ง ตุ๊กแกป่าตะวันออก ตุ๊กแกบิน กิ้งก่าบิน ตะกวด เต่า กบภูเขา เขียด คางคก ปาด และปูหิน ฯลฯ นอกจากนี้บริเวณลำธารและคลองต่างๆ ยังพบ ปลาพลวงหิน ปลาแขยงหิน ปลาสร้อยขาว ปลาเขยา ปลากั้ง ปลาหมู ฯลฯ

วันอังคารที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ความแตกต่างระหว่าง "รัก" กับ "ชอบ"

 
ต่อหน้าคนที่รัก หัวใจเราเต้นรัว
ต่อหน้าคนที่ชอบ  เรารู้สึกมีความสุข
 
ถ้าจ้องหน้าคนที่รัก  เราจะหน้าแดง
ถ้าจ้องตาคนที่ชอบ   เราจะยิ้มออกมา  
 
ต่อหน้าคนที่รัก   เราไม่สามารถพูดทุกสิ่งในใจได้
ต่อหน้าคนที่ชอบ   เราทำได้
 
ต่อคนที่รัก  เราจะเขินอาย
ต่อหน้าคนที่ชอบ  เราเปิดเผยความเป็นตัวเองได้
 
เราไม่สามารถสบตาคนที่รักตรงๆได้
แต่เรายิ้มและสบตาคนที่ชอบตรงๆได้
 
เมื่อคนที่รักร้องไห้เราจะร้องไห้ไปกับเขา
แต่เมื่อคนที่ชอบร้องไห้เราจะปลอบเขา
 
ความรู้สึกรักเริ่มต้นจากดวงตา
ความรู้สึกชอบเริ่มต้นที่หู
 
ฉะนั้นถ้าเราเลิกชอบคนที่ชอบแค่ปิดหูเท่านั้นก็พอ
แต่ถ้าพยายามจะปิดตา  รักจะกลายเป็นน้ำตา
 
และเมื่อเปิดตาขึ้นอีกครั้ง
เราก็จะได้รู้ว่าสิ่งที่เสียไปคือคนที่เรารักมากที่สุด 

ผู้ติดตาม

แหล่งท่องเที่ยว

แหล่งท่องเที่ยว
เกาะเต่า เป็นเกาะที่ตั้งโดดเดี่ยวในอ่าวไทย อยู่ห่างจากอำเภอเกาะพะงัน 45 กิโลเมตร ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ในอดีตกรมราชทัณฑ์ได้ใช้เป็นเรือนจำกักขังนักโทษการเมือง (กบฎบวรเดช) สมัยการปกครองของคณะราษฎร์ เกาะเต่ามีประชาชนมาอาศัยตั้งแต่ปี 2490 เป็นเกาะที่มีธรรมชาติและความสมบูรณ์ของชีวิตใต้ทะเล สวยงามด้วยแนวปะการังทั้งน้ำตื้นและน้ำลึก ปลาหลากชนิดสีสวย ๆ มากมายที่นักดำน้ำจะต้องนึกถึง และชายหาดที่มีหาดทรายขาวสวยสงบน่าพักผ่อนหลายหาด มีโรงเรียนสอนดำน้ำหลายโรงเรียนที่มักจะมีนักดำน้ำหน้าใหม่แวะเวียนมาเรียนกันอยู่เสมอ ช่วงเวลาที่เหมาะจะมาท่องเที่ยวคือ เดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน บนเกาะมีบังกะโลหลายแบบหลายราคาให้นักท่องเที่ยวได้เลือกพัก การเดินทางบนเกาะเต่าสามารถเดินทางได้ทั้งทางเรือ รถยนต์และรถจักรยานยนต์ มีบริการ 2 เส้นทาง คือ จากท่าเทียบเรือไปทางทิศเหนือถึงหาดทรายรี และไปทางทิศใต้ถึงอ่าวลึกสถานที่ท่องเที่ยวบนเกาะเต่าและใกล้ ๆ เกาะเต่า